โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ภายในหน่วยเลี้ยงและพัฒนาเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
2560-2561
ข้อควรคำนึงในการออกแบบพื้นที่
1. Dimension 
เน้นการออกแบบเพื่อสร้างระยะการใช้งานที่เหมาะสมและปลอดภัย สำหรับเด็ก และผู้ใช้งานพื้นที่ โดยสัมพันธ์กับกิจกรรมการเล่น และการเรียนรู้ รวมถึงการคำนึงถึงการยศาสตร์ของเด็กเป็นสำคัญ  
2. Touch 
เน้นการใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น และการออกแบบที่สร้างความปลอดภัยต่อการใช้งานของเด็ก โดยเฉพาะห้องเลี้ยงเด็กเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัยและอาจมาจากธรรมชาติหรือมีสารเคมีน้อยที่สุด อีกทั้งเรื่องความรู้สึกด้านสัมผัสต่อ สภาพแวดล้อม และอารมณ์ 
3. Efficient space 
การออกแบบพื้นที่ให้เอื้อต่อการสัญจร และให้บริการ เช่น เส้นทางผ่านของรถเข็นและเตียง พยาบาล พื้นที่ปฐมพยาบาล รวมถึงการคำนึงถึงเส้นทางการหนีไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้ 
4. Child development 
เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการ และเอื้อต่อการ “เล่น เรียน รู้” อย่างเหมาะสม ทั้งภายนอกและภายในอาคารเพื่อสร้างประสบการณ์ในการส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมวัย 
5. Well-being Environment 
เน้นการออกแบบให้พื้นที่สามารถเอื้อต่อการสร้างสุขภาวะสาหรับทุกคน ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง และ เจ้าหน้าที่ ผ่านการคำนึงถึงปัจจัยพื้นที่ฐานในการออกแบบ